วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560
มะขวิด
มะขวิด ภาคอีสานเรียกมะยม
ภาคเหนือเรียกมะฟิด เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย สูงถึง 12 เมตร
กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 เซนติเมตร ใบประกอบ
แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ ยาวถึง 4
ซม. ก้านใบและก้านใบย่อยมีปีกแคบ ๆ ยาวถึง 12 เซนติเมตร
มีจุดต่อมน้ำมัน มีกลิ่นอ่อน ๆ เมื่อขยี้ ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ
มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ มี 5 กลีบ
สีขาวครีมแกมเขียว ชมพูหรือแดงเรื่อ ๆ อยู่กันหลวม ๆ ผลเปลือกแข็ง รูปกลม
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร
ผิวเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู มีเนื้อมาก กลิ่นหอม มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดยาว 0.5-0.6
เซนติเมตร เปลือกหนา มีขนมะขวิด เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น
เจริญอาหาร แก้อาการท้องเสีย และรักษาโรคทางเดินอาหาร โรคลักปิดลักเปิด
แก้ฝีเปื่อยบวม ตกโลหิต และแก้พยาธิ ใบและดอก แก้ท้องร่วง แก้บวมและฟกช้ำ ตกโลหิต
ขับลม เป็นยาฝาดสมาน และแก้พยาธิ ยาง แก้ทองเสีย สมานแผล และเจริญไฟธาตุ เปลือก
แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้อาการลงท้อง ตกโลหิด และแก้พยาธิยางของผลมีความเหนียว
ใช้ติดหรือเชื่อมต่อสิ่งของได้ เปลือกไม้มีสารจำพวกกัมจำนวนมาก ไม้เนื้อแข็ง
สามารถใช้ในงานช่างไม้ได้ ผลรับประทานสดหรือนำไปทำน้ำผลไม้และแยมเปลือกต้นมะขวิดใช้บดทำแป้งผัดหน้า
อย่างในแป้งพม่า
มะขามเทศ
มะขามเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pithecellobium
dulce) เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไทย[3] หลักฐานบางแหล่งกล่าวว่าเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก
อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนบนจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่อเมริกาเหนือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
ลำต้นมีหนาม ใบบางและเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีขาว
เห็นเกสรตัวผู้เป็นพู่ชัดเจน ผลเป็นฝักโค้งเป็นปล้องๆ ฝักอ่อนสีเขียว
เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดง เนื้อในเป็นสีชมพูหรือสีขาว รสหวานหรือหวานอมฝาด
ถ้าทิ้งไว้นาน เนื้อจะนุ่ม รสหวานจัดขึ้น แต่ถ้านานเกินไปจะมีกลิ่นเหล้าออกมา
เมล็ดสีดำ มีปล้องละ 1 เมล็ดกลุ่มฝักใหญ่ ฝักโค้งเป็นวงกลมหรือเป็นเกลียว
ฝักแก่สีเขียวอ่อน ขาวปนแดงหรือชมพู เนื้อสีขาวปนแดง หวานมัน เนื้อนุ่มกลุ่มฝักกลาง
ฝักโค้งเป็นวงกลม ฝักแก่สีเขียวอ่อน ปนชมพูอมแดง รสหวานมันพันธุ์พื้นเมือง
ฝักขนาดเล็กสุด โค้งเป็นวงกลม ฝักแก่สีเขียวอ่อนปนชมพู รสหวานอมฝาด
ลูกหวาย
หวายมีลำต้นขนาดหัวแม่มือเลื้อยพันต้นไม้อื่น
มีหนามทั้งที่ต้นและใบ
อายุหลายปีจึงจะออกผล ชอบขึ้นในป่าแก่ทีมีร่มเงา ลูกหวายมีรสชาดหวานฝาดๆ
หวายชอบขึ้นในเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุก แหล่งหวายใน
ประเทศไทยจึงพบมากทางเขตภาคใต้ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ระนอง กระบี่
ปัตตานี ฯลฯ มีประมาณ 40 กว่าชนิดแต่ชนิด
ที่มีมาก เป็นหวายในสกุล Calamus หวายที่นิยมใช้ในการจักสาน
เป็นหวายชนิดผิวแข็งได้แก่ หวายแดง หวายกาหลง หวายหอม หวายชุมพร หวายโอมัด
หวายขี้ขาว ฯลฯ ลูกหวาย อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินซี ใน 100 กรัม ให้พลังงานถึง 79 แคลอรี คาร์โบไฮเดรต 18.6
กรัม หน่อหวายมีโปรตีและเส้นใย รสขมของหวายมีสรรพคุณทางยาคือ
แก้โรคท้องร่วง หน่อหวายมีธาตุสังกะสีในปริมาณสูง ช่วยให้ไม่เครียดง่าย
ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี
ที่มา: (http://www.dei.ac.th/index/content/art)
จำปาดะ
จำปาดะ (มลายู: cempedak, เจิมเปอดะก์; ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus integer) คือชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Moraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับขนุน ถิ่นกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย และเกาะนิวกินี ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น มียางสีขาวขุ่น ใบเป็นมัน ผลคล้ายขนุนแต่เล็กกว่า ผลดิบเปลือกแข็ง มียางมาก พอสุก เปลือกนิ่มลง ยางน้อยลง เนื้อมีกลิ่นหอมและรสหวานจัดผลจำปาดะสามารถทำอาหารได้หลากหลาย มีกลิ่นเฉพาะตัว ทั้งกินเป็นผลไม้สด ชุบแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดซึ่งเป็นที่นิยมในภาคใต้ของไทย สิงคโปร์และมาเลเซีย เมล็ดอย่างเดียวนำไปต้มให้สุก หรือใส่ในกับข้าวเช่นแกงไตปลา ผลอ่อนต้มกับกะทิใช้เป็นผัก ผลอ่อนนำไปแกงได้ เนื้อไม้สีเหลืองหรือน้ำตาลใช้ทำเครื่องเรือนและต่อเรือ เปลือกลำต้นใช้ฟั่นเชือก
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/
ลองกอง
ลองกอง เป็นลางสาดพันธุ์หนึ่งชนิดที่เปลือกหนาและยางน้อย โดยลางสาดเป็นไม้ต้นชนิด Lansium domesticum Corrêa ในวงศ์ Meliaceae ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขมลางสาดนั้นเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากบริเวณหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทย มีหลายชื่อ อาทิ ลังสาด, ดูกู โดยชื่อ "ลางสาด" หรือ "ลังสาด" นั้นมาจากภาษามลายูว่า "langsat", ชื่อ "ดูกู" มาจากภาษาอินโดนีเซียว่า "duku" และชื่อ "ลองกอง" มาจากภาษายาวีว่า "ดอกอง"
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/
มะขามป้อม
มะขามป้อม
หรือ มะขามป้อมอินเดีย เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม
(ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง
- แม่ฮ่องสอน)มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด
เพราะมะขามป้อมลูกเล็กๆเพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12
เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง20 เท่าใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด
แก้ไอ และละลายเสมหะได้ มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระยับยั้งการสร้างเมลานิน
และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ชาวกะเหรี่ยงใช้ย้อมผ้าให้สีเทา
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/
ละไม
ละไม ชื่อวิทยาศาสตร์: Baccaurea motleyana เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Euphorbiaceae และเป็นผลไม้พื้นเมืองทางภาคใต้ ใบขนาดใหญ่ ผลออกเป็นพวงยาว ห้อยย้อยตามลำต้น ลักษณะคล้ายผลมะไฟ ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลแบ่งเป็นกลีบๆ มี 3-5 กลีบ เนื้อสีขาว รสอมเปรี้ยวอมหวาน รับประทานเป็นผลไม้สด ใส่ในแกงต่างๆ ผลมีวิตามินซีสูง หรือนำไปแปรรูปเป็นแยมและไวน์
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)